วันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2554

วงแคลช

แคลช

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

แคลช
ข้อมูลพื้นฐาน
แหล่งกำเนิดกรุงเทพ ประเทศไทย
แนวเพลงร็อก, นูเมทัล, ฮาร์ดร็อก, เจร็อก, อัลเทอร์เนทีฟร็อก, อาร์แอนด์บี, อะคูสติกส์, ออเคสตร้า, ป๊อปร็อก
ปี2544 - 2554
ค่ายดักค์บาร์เรเคิดส์, จีนีส์เรเคิดส์, อัปจีเรเคิดส์
เว็บไซต์http://clashfansite0007.gmember.com/
สมาชิก
ปรีติ บารมีอนันต์
คชภัค ผลธนโชติ
ฐาปนา ณ บางช้าง
สุกฤษณ์ ศรีเปารยะ
อนันต์ ดาบเพ็ชรธิกรณ์
แคลช (อังกฤษ: Clash) เป็นวงดนตรีชาวไทย รวมตัวกันครั้งแรกในชื่อวง ลูซิเฟอร์ เพื่อเข้าประกวดรายการดนตรีฮอตเวฟมิวสิกอวอร์ดส์ครั้งที่ 2 และ 3 แต่ครั้งสมัยศึกษาในระดับมัธยมศึกษา ณ โรงเรียนราชวินิตบางแก้ว ในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งในการแข่งขันครั้งที่สามนี้ ลูซิเฟอร์ ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง[1] และได้เซ็นสัญญากับค่ายอัปจีเรเคิดส์หนึ่งในค่ายเพลงในเครือของจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่
แคลชมีผลงานสตูดิโออัลบั้มกว่า 7 ชุด และยังเข้าร่วมโครงการอัลบั้มพิเศษกับศิลปินในสังกัดจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่อื่นๆ นอกจากนี้ยังมีผลงานอัลบั้มเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง พันธุ์เอ็กซ์เด็กสุดขั้ว เพลงประกอบละคร เพลงประกอบภาพยนตร์โฆษณา และซิงเกิลพิเศษอีกหลายเพลง และเนื่องจากแบงก์ หนึ่งในสมาชิกของวงมีความสามารถด้านการประพันธ์เพลง ทำให้เขามีโอกาสประพันธ์เพลงให้กับศิลปินอื่นๆอีกหลายเพลง พวกเขายังร่วมกันเปิดร้านอาหารกึ่งผับในชื่อ แคลงก์ และเขียนหนังสือพ็อคเก็ตบุ๊คเล่มแรกที่วางจำหน่ายในปี พ.ศ. 2551[2]
แคลชได้รับรางวัลการยกย่องเป็นตำนานของเพลงร็อกไทยและได้รับรางวัลจากสื่อมวลชนและรายการรางวัลดนตรีมากมาย และยังได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ อาทิ เป็นพรีเซนเตอร์โฆษณารถมอเตอร์ไซค์ โครงการรณรงค์ไนกี้ นอกจากนี้แบงก์ นักร้องนำของวงยังได้รับยกย่องให้เป็น "ลูกยอดกตัญญู" ในงานวันแม่แห่งชาติเมื่อปี พ.ศ. 2549 อีกด้วย

เนื้อหา

[ซ่อน]

[แก้] ประวัติ

ลูซิเฟอร์ ซึ่งวิวัฒน์ต่อมาเป็นวง แคลช

[แก้] การรวมวงและก้าวแรกในวงการดนตรี [2541 - 2544]

แคลชรวมวงครั้งแรกในปี พ.ศ. 2541 ครั้นแต่สมาชิกทั้งห้าคนยังเป็นนักเรียนโรงเรียนราชวินิตบางแก้ว ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยใช้ชื่อวงของตนว่า ลูซิเฟอร์ เพื่อเข้าประกวดการแข่งขันรายการดนตรีฮอตเวฟมิวสิกอวอร์ดส์ (Hot Wave Music Awards) ครั้งที่ 2 และ 3 ในครั้งที่ 3 วงลูซิเฟอร์ได้รับรางวัลรองชนะเลิอันดับหนึ่ง[1] โดยใช้เพลง "อย่าทำอย่างนั้น" ของจิระศักดิ์ ปานพุ่ม[3] ต่อมาในปี พ.ศ. 2544 ลูซิเฟอร์จึงได้เซ็นสัญญากับค่ายดนตรีอัปจีเรเคิดส์ อันเป็นค่ายเพลงในเครือบริษัทจีเอ็มเอ็มแกรมมี และได้ออกจำหน่ายอัลบั้มชุดแรกในชื่อ วัน ในวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2544[4] โดยออกเผยแพร่ซิงเกิลแรกในเพลง "กอด" ผลงานการประพันธ์ของปรีติ บารมีอนันต์ (แบงก์) นักร้องนำของวงและเรียบเรียงดนตรีโดยกลุ่มสมาชิกของวง[5] นอกจากนี้ยังได้ประชาสัมพันธ์เพลง "เลิฟซีน" ซึ่งได้รับรางวัลสีสันครั้งที่ 14 สาขาเพลงร็อกยอดเยี่ยมในปี พ.ศ. 2546อีกด้วย[1]

[แก้] ประสบความสำเร็จ [2546]

ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 แคลชได้ออกอัลบั้มลำดับที่สองในชื่อ ซาวด์เชก ในอัลบั้มนี้พวกเขามีส่วนร่วมมากขึ้นตั้งแต่การประพันธ์จวบจนการบันทึกเสียง[6] ซิงเกิลจากอัลบั้มนี้ได้แก่ "เธอจะอยู่กับฉันตลอดไป" "ขอเช็ดน้ำตา" และ "หนาว"[5] ซึ่งเพลง "หนาว" เป็นผลงานการประพันธ์ของแบงก์เอง[6] นอกจากนี้ยังมีเพลงพิเศษอย่าง "หยุดฝันก็ไปไม่ถึง" ซึ่งเป็นเพลงที่ประพันธ์ขึ้นเมื่อพล หนึ่งในสมาชิกของวงได้ขอแยกวงและได้กลับมาออกอัลบั้มนี้อีกครั้ง[7] และเพลง "มือน้อย" เพลงของเรวัติ พุทธินันทน์ซึ่งได้นำมาเรียบเรียงใหม่ในอัลบั้มนี้
จากความสำเร็จในอัลบั้ม ชาวด์เชก ที่มีเพลงติดชาร์ตโดยทั่วไป[8] พวกเขาจึงมีโอกาสเป็นพรีเซ็นเตอร์โฆษณาสินค้าน้ำมันเครื่อง[9] และยังได้ขับร้องเพลง "หนึ่งมิตรชิดใกล้" เพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง บิวตีฟูลบ็อกเซอร์ นอกจากนี้ในเดือนมิถุนายนปีเดียวกัน วงแคลชได้จัดทำอัลบั้มพิเศษขึ้นในชื่อ ซาวด์ครีม โดยเรียบเรียงดนตรีจากอัลบั้ม วัน และ ซาวด์เชก อาทิ "กอด" "รับได้ทุกอย่าง" "ขอเช็ดน้ำตา" และ "หนาว" ในรูปแบบใหม่ในแนวอะคูสติกส์ พร้อมเพลงใหม่อย่าง "เธอคือนางฟ้าในใจ" ซิงเกิลแรกเพื่อประชาสัมพันธ์อัลบั้มดังกล่าว
นอกจากผลงานอัลบั้มของวงเองและการโฆษณาแล้วนั้น ในปีเดียวกันนี้ แคลชและวงดนตรีร็อกในเครือค่ายเพลงสามค่ายอันประกอบด้วยมอร์มิวสิก จีนีเรเคิดส์ และอัปจีเรเคิดส์ ได้จัดทำโครงการพิเศษในชื่อว่า ลิตเติลร็อกโปรเจกต์ (Little Rock Project) โดยออกอัลบั้มร่วมกันประกอบด้วยอัลบั้ม ลิตเติลร็อกโปรเจกต์ ชุดที่ 1 และ ชุดที่ 2 ออกจำหน่ายในช่วงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2546 โดยนำเพลงของวง ไมโคร มาเรียบเรียงดนตรีใหม่และขับร้องใหม่ตามรูปแบบของแต่ละวง วงแคลชได้ร้องเพลงเปิดตัวโครงการด้วยเพลง "เอาไปเลย" ขับร้องคู่กับวงกะลา นอกจากนี้ยังมีเพลงอื่นๆที่แคลชได้ขับร้องอาทิ "ตอก ไว้ใจ แผลในใจ" และ "หยุดมันเอาไว้" และอีกเพลงหนึ่งซึ่งร้องร่วมกันทั้ง 7 วงคือเพลง "ลองบ้างไหม"

ที่มา
http://th.wikipedia.org/wiki/แคลช

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น