วันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2554

วงแพนเค้ก

แพนเค้ก (วงดนตรี)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

แพนเค้ก
สมาชิกวง "แพนเค้ก"
สมาชิกวง "แพนเค้ก"
ข้อมูลพื้นฐาน
แหล่งกำเนิดกรุงเทพ,ประเทศไทย
แนวเพลงป็อปร็อก
ปี2549 - ปัจจุบัน
ค่ายทัดดอกไม้, GMM Grammy
เว็บไซต์www.pancake-band.com
สมาชิก
ทินกร พึ่งตาราวี (นิ้งหน่อง) ร้องนำ
เหมือนเพชร อำมะระ (โจ) กีต้าร์
กฤษฏิ หาญเจริญวนะภูษิต (พีท) กีต้าร์
อธิสสร ชวาลา (เบนนี่) เบส
อาทิตย์ รัตนพันธ์ (ยอด) กลอง
แพนเค้ก เป็นวงดนตรีแนวป็อปร็อกในสังกัดค่ายทัดดอกไม้ เครือ ก้านคอคลับ ประกอบด้วยสมาชิกคือ “นิ้งหน่อง” ทินกร พึ่งตาราวี (ร้องนำ) , “โจ” เหมือนเพชร อำมะระ(กีตาร์) , “พีท” กฤษฏิ หาญเจริญวนะภูษิต(กีตาร์) , “เบนนี่” อธิสสร ชวาลา(เบส) และ “ยอด” อาทิตย์ รัตนพันธ์(กลอง)

[แก้] สมาชิก

[แก้] ผลงาน

  • ก๋วยเตี๋ยวหน้าใสกับใจโทรมๆ (พ.ศ. 2549)
    1. ใจเย็น
    2. ก๋วยเตี๋ยวหน้าใสกับใจโทรมๆ
    3. เข้าทางแม่
    4. น้ำหอม
    5. ความเลวไม่มีความดีไม่ปรากฏ
    6. หมดสมรรถภาพ (Feat. Buddha Bless)
    7. โกรธ
    8. ขอบคุณที่โทรมา
    9. ขาดใจ
    10. หน้ามัธยมคารมมหาลัย
  • ผัดกะเพรากับเรา 2 (พ.ศ. 2550)
    1. คนไหนบ้าง
    2. ผัดกะเพราะกับเราสอง
    3. จริงใจไม่จริงจัง
    4. อยากจับมือเธอมาวางไว้
    5. เกลียด
    6. ยิ่งแก้ยิ่งแย่
    7. วันแห่งความรัก
    8. ความรักท่วมหัว
    9. สวยเลือกได้
    10. วันแดงเดือด feat. โหน่ง b.s.
  • ซิงเกิ้ลพิเศษ ในอัลบั้ม Core Rock
    1. สุขสมอารมณ์หมาย
    2. พ.ศ.ใหม่ เปลี่ยนใจหรือเปล่า
  • Good Taste (พ.ศ. 2551)
    1. นางร้าย
    2. เศษหนึ่งส่วนเกิน
    3. ตั้งแต่ต้นจนเจ็บ
    4. จุดเกรงใจ
    5. เจ็บแต่ยังหายใจ
    6. After Party
    7. เริ่มต้นด้วยรัก
    8. เพื่อชีวิต
    9. สักวันเราจะเป็นเพื่อนกันได้
    10. Good Night
  • NEW SINGLE พ.ศ. 2552
    1. เกลียดเพลงรัก
    2. ต้นงิ้ว
    3. แทนความว่างเปล่า
  • ขอจงสุขสวัสดิ์ (พ.ศ. 2553)
    1. วงแหวนดาวเสาร์
    2. ความคิดถึงไม่ต้องพึ่งปาฏิหาริย์
    3. รักเดียวที่ฟ้าประทาน
    4. ไม่มีสเป็คเวลาสปาร์ค
    5. อย่าเอาเรื่องจริงมาพูดเล่น
    6. มนต์รักงานกาชาด
    7. อย่าเป็นเหมือนฉันเลย
    8. เปรี้ยวตลาดแตก
    9. สิ้นสุดความเสียใจ
    10. ขอจงสุขสวัสดิ์
ที่มาhttp://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%81%E0%B8%9E%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%81_(%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B5)

วงแคลช

แคลช

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

แคลช
ข้อมูลพื้นฐาน
แหล่งกำเนิดกรุงเทพ ประเทศไทย
แนวเพลงร็อก, นูเมทัล, ฮาร์ดร็อก, เจร็อก, อัลเทอร์เนทีฟร็อก, อาร์แอนด์บี, อะคูสติกส์, ออเคสตร้า, ป๊อปร็อก
ปี2544 - 2554
ค่ายดักค์บาร์เรเคิดส์, จีนีส์เรเคิดส์, อัปจีเรเคิดส์
เว็บไซต์http://clashfansite0007.gmember.com/
สมาชิก
ปรีติ บารมีอนันต์
คชภัค ผลธนโชติ
ฐาปนา ณ บางช้าง
สุกฤษณ์ ศรีเปารยะ
อนันต์ ดาบเพ็ชรธิกรณ์
แคลช (อังกฤษ: Clash) เป็นวงดนตรีชาวไทย รวมตัวกันครั้งแรกในชื่อวง ลูซิเฟอร์ เพื่อเข้าประกวดรายการดนตรีฮอตเวฟมิวสิกอวอร์ดส์ครั้งที่ 2 และ 3 แต่ครั้งสมัยศึกษาในระดับมัธยมศึกษา ณ โรงเรียนราชวินิตบางแก้ว ในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งในการแข่งขันครั้งที่สามนี้ ลูซิเฟอร์ ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง[1] และได้เซ็นสัญญากับค่ายอัปจีเรเคิดส์หนึ่งในค่ายเพลงในเครือของจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่
แคลชมีผลงานสตูดิโออัลบั้มกว่า 7 ชุด และยังเข้าร่วมโครงการอัลบั้มพิเศษกับศิลปินในสังกัดจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่อื่นๆ นอกจากนี้ยังมีผลงานอัลบั้มเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง พันธุ์เอ็กซ์เด็กสุดขั้ว เพลงประกอบละคร เพลงประกอบภาพยนตร์โฆษณา และซิงเกิลพิเศษอีกหลายเพลง และเนื่องจากแบงก์ หนึ่งในสมาชิกของวงมีความสามารถด้านการประพันธ์เพลง ทำให้เขามีโอกาสประพันธ์เพลงให้กับศิลปินอื่นๆอีกหลายเพลง พวกเขายังร่วมกันเปิดร้านอาหารกึ่งผับในชื่อ แคลงก์ และเขียนหนังสือพ็อคเก็ตบุ๊คเล่มแรกที่วางจำหน่ายในปี พ.ศ. 2551[2]
แคลชได้รับรางวัลการยกย่องเป็นตำนานของเพลงร็อกไทยและได้รับรางวัลจากสื่อมวลชนและรายการรางวัลดนตรีมากมาย และยังได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ อาทิ เป็นพรีเซนเตอร์โฆษณารถมอเตอร์ไซค์ โครงการรณรงค์ไนกี้ นอกจากนี้แบงก์ นักร้องนำของวงยังได้รับยกย่องให้เป็น "ลูกยอดกตัญญู" ในงานวันแม่แห่งชาติเมื่อปี พ.ศ. 2549 อีกด้วย

เนื้อหา

[ซ่อน]

[แก้] ประวัติ

ลูซิเฟอร์ ซึ่งวิวัฒน์ต่อมาเป็นวง แคลช

[แก้] การรวมวงและก้าวแรกในวงการดนตรี [2541 - 2544]

แคลชรวมวงครั้งแรกในปี พ.ศ. 2541 ครั้นแต่สมาชิกทั้งห้าคนยังเป็นนักเรียนโรงเรียนราชวินิตบางแก้ว ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยใช้ชื่อวงของตนว่า ลูซิเฟอร์ เพื่อเข้าประกวดการแข่งขันรายการดนตรีฮอตเวฟมิวสิกอวอร์ดส์ (Hot Wave Music Awards) ครั้งที่ 2 และ 3 ในครั้งที่ 3 วงลูซิเฟอร์ได้รับรางวัลรองชนะเลิอันดับหนึ่ง[1] โดยใช้เพลง "อย่าทำอย่างนั้น" ของจิระศักดิ์ ปานพุ่ม[3] ต่อมาในปี พ.ศ. 2544 ลูซิเฟอร์จึงได้เซ็นสัญญากับค่ายดนตรีอัปจีเรเคิดส์ อันเป็นค่ายเพลงในเครือบริษัทจีเอ็มเอ็มแกรมมี และได้ออกจำหน่ายอัลบั้มชุดแรกในชื่อ วัน ในวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2544[4] โดยออกเผยแพร่ซิงเกิลแรกในเพลง "กอด" ผลงานการประพันธ์ของปรีติ บารมีอนันต์ (แบงก์) นักร้องนำของวงและเรียบเรียงดนตรีโดยกลุ่มสมาชิกของวง[5] นอกจากนี้ยังได้ประชาสัมพันธ์เพลง "เลิฟซีน" ซึ่งได้รับรางวัลสีสันครั้งที่ 14 สาขาเพลงร็อกยอดเยี่ยมในปี พ.ศ. 2546อีกด้วย[1]

[แก้] ประสบความสำเร็จ [2546]

ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 แคลชได้ออกอัลบั้มลำดับที่สองในชื่อ ซาวด์เชก ในอัลบั้มนี้พวกเขามีส่วนร่วมมากขึ้นตั้งแต่การประพันธ์จวบจนการบันทึกเสียง[6] ซิงเกิลจากอัลบั้มนี้ได้แก่ "เธอจะอยู่กับฉันตลอดไป" "ขอเช็ดน้ำตา" และ "หนาว"[5] ซึ่งเพลง "หนาว" เป็นผลงานการประพันธ์ของแบงก์เอง[6] นอกจากนี้ยังมีเพลงพิเศษอย่าง "หยุดฝันก็ไปไม่ถึง" ซึ่งเป็นเพลงที่ประพันธ์ขึ้นเมื่อพล หนึ่งในสมาชิกของวงได้ขอแยกวงและได้กลับมาออกอัลบั้มนี้อีกครั้ง[7] และเพลง "มือน้อย" เพลงของเรวัติ พุทธินันทน์ซึ่งได้นำมาเรียบเรียงใหม่ในอัลบั้มนี้
จากความสำเร็จในอัลบั้ม ชาวด์เชก ที่มีเพลงติดชาร์ตโดยทั่วไป[8] พวกเขาจึงมีโอกาสเป็นพรีเซ็นเตอร์โฆษณาสินค้าน้ำมันเครื่อง[9] และยังได้ขับร้องเพลง "หนึ่งมิตรชิดใกล้" เพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง บิวตีฟูลบ็อกเซอร์ นอกจากนี้ในเดือนมิถุนายนปีเดียวกัน วงแคลชได้จัดทำอัลบั้มพิเศษขึ้นในชื่อ ซาวด์ครีม โดยเรียบเรียงดนตรีจากอัลบั้ม วัน และ ซาวด์เชก อาทิ "กอด" "รับได้ทุกอย่าง" "ขอเช็ดน้ำตา" และ "หนาว" ในรูปแบบใหม่ในแนวอะคูสติกส์ พร้อมเพลงใหม่อย่าง "เธอคือนางฟ้าในใจ" ซิงเกิลแรกเพื่อประชาสัมพันธ์อัลบั้มดังกล่าว
นอกจากผลงานอัลบั้มของวงเองและการโฆษณาแล้วนั้น ในปีเดียวกันนี้ แคลชและวงดนตรีร็อกในเครือค่ายเพลงสามค่ายอันประกอบด้วยมอร์มิวสิก จีนีเรเคิดส์ และอัปจีเรเคิดส์ ได้จัดทำโครงการพิเศษในชื่อว่า ลิตเติลร็อกโปรเจกต์ (Little Rock Project) โดยออกอัลบั้มร่วมกันประกอบด้วยอัลบั้ม ลิตเติลร็อกโปรเจกต์ ชุดที่ 1 และ ชุดที่ 2 ออกจำหน่ายในช่วงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2546 โดยนำเพลงของวง ไมโคร มาเรียบเรียงดนตรีใหม่และขับร้องใหม่ตามรูปแบบของแต่ละวง วงแคลชได้ร้องเพลงเปิดตัวโครงการด้วยเพลง "เอาไปเลย" ขับร้องคู่กับวงกะลา นอกจากนี้ยังมีเพลงอื่นๆที่แคลชได้ขับร้องอาทิ "ตอก ไว้ใจ แผลในใจ" และ "หยุดมันเอาไว้" และอีกเพลงหนึ่งซึ่งร้องร่วมกันทั้ง 7 วงคือเพลง "ลองบ้างไหม"

ที่มา
http://th.wikipedia.org/wiki/แคลช